MOBILE APPLICATION แบ่งได้กี่ประเภท?
เพราะโมบายแอปพลิเคชั่นที่เราได้ใช้งานกันอยู่ในทุกขณะในตอนนี้นั้น ถือว่าได้เข้ามาทำหน้าที่ได้อย่างสำเร็จลุล่วงและเกินกว่าที่ใครหลายคนอาจจะได้คาดการณ์เอาไว้ แต่เมื่อสิ่งนี้เข้ามาช่วยเปลี่ยนให้มนุษย์กลายเป็นบุคคลที่ก้าวล้ำเทคโนโลยีมากขึ้น นักพัฒนาก็ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อที่จะทำให้แอปพลิเคชั่นตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานมากที่สุดและครองใจผู้ใช้งาน เพื่อหวังว่าจะเกิดผลกำไรต่อเนื่องกับธุรกิจภายในอนาคต ประเภทของ Mobile application นั้นแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ Native Application และ Hybrid Application
Native App
Native App คือ การพัฒนาแอพลิเคชั่นที่ใช้รูปแบบการพัฒนาและชุดคำสั่งต่าง ๆ ตามที่ผู้พัฒนาอุปกรณ์ได้จัดทำขึ้น เช่น
– iOS สำหรับ iPhone, iPad, Apple Watch จะใช้ภาษา Object C หรือ Swift โดยการพัฒนาจะต้องใช้โปรแกรม XCode
– Android จะใช้ภาษา Java และใช้โปรแกรม Android Studio ในการพัฒนา
– Window Phone ใช้ภาษา C# และใช้โปรแกรม Visual Studio ในการพัฒนา
ข้อดีของ Native App
– สามารถใช้งานชุดคำสั่งต่าง ๆ สำหรับ Platform นั้น ๆ ได้อย่างครบถ้วน
– สามารถใช้งานความสามารถของอุปกรณ์ได้เต็มประสิทธิภาพ เช่นการเรียกใช้งานกล้อง เข็มทิศ เป็นต้น
– สามารถนำขึ้นให้ผู้ใช้โหลดจาก AppStore หรือ PlayStore ได้
ข้อด้อยของ Native App
– ต้องพัฒนาแยกต่างแต่ละ Platform คือ ถ้าต้องการมี App บน iOS, Android, Window Phone จะต้องพัฒนาแยกกัน
– มีต้นทุนในการพัฒนาสูง เนื่องจากต้องใช้จำนวนคนและระยะเวลาในการพัฒนามาก
Native App เหมาะสำหรับแอพลิเคชั่นที่ต้องการใช้ความสามารถของเครื่องได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น feature ต่าง ๆ ของเครื่องหรือการจัดการบริหารจัดการหน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาเกมส์ต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องใช้ความเข้าใจถึงรูปแบบการทำงานของระบบปฏิบัติการ (OS) ของผู้ผลิตแต่ละรายที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงความต้องการต่าง ๆ ของแอพลิเคชั่นว่าคุ้มค่าที่ต้องพัฒนาแบบ Native App หรือไม่
Hybrid App คืออะไร
พอได้ยินคำว่า “Hybrid” หลายคนคงนึกถึง รถยนต์ที่สามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและใช้ไฟฟ้าในการทำงาน เป็นแบบ 2 ระบบ ซึ่งจะบอกว่า Hybrid App ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดย Hybrid App จะใช้การพัฒนาเหมือนหรือใกล้เคียงกับ Web App คือใช้ภาษา HTML, CSS และ JavaScript ในการพัฒนา ร่วมกับ Component ที่ทำให้แอพลิเคชั่นสามารถเรียกใช้ความสามารถของฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ได้ เช่นกล้อง หรือเข้าถึงการจัดเก็บรูปภาพของเครื่อง และเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วก็ยังสามารถนำไปให้ผู้ใช้โหลดจาก AppStore หรือ PlayStore ได้เหมือนกับ Native App
โดยในปัจจุบันมี Framework ในการพัฒนาแอพลิเคชั่นแบบ Hybrid App อยู่มากมาย เช่น PhoneGap, Ionic, Framework7 หรือ React Nativeข้อดีของ Hybrid App
– พัฒนาด้วยภาษา HTML, CSS และ JavaScript ทำให้ง่ายและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
– พัฒนาครั้งเดียวสามารถใช้ได้หลาย Platform ทั้ง iOS และ Android
– ใช้ต้นทุนในการพัฒนาน้อยกว่า Native App
ข้อด้อยของ Hybrid App
– ประสิทธิภาพการทำงานจะด้อยกว่า Native App
– ในบางกรณีอาจจะใช้ความสามารถของอุปกรณ์ได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับ Framework ที่เลือกในการพัฒนานั้นมี Component ที่ต้องการหรือไม่
ดังนั้น Hybrid App จึงมีจุดเด่นในเรื่องความง่ายและพัฒนาได้รวดเร็ว และ Cross-Platforms คือพัฒนาครั้งเดียวแต่สามารถนำไปติดตั้งในหลาย Platforms แต่เมื่อพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นความเร็ว หรือการเรียกใช้หรือติดต่อ feature ต่าง ๆ ของอุปกรณ์ ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะยังด้อยกว่าแอพลิเคชั่นที่พัฒนาด้วย Native App ในบางลักษณะการทำงานอยู่ดี
ที่มา : https://www.wynnsoft-solution.com, https://www.9experttraining.com